การตรวจเช็คและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงป้องกัน

การตรวจเช็คและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้าเชิงป้องกัน

หม้อแปลงไฟฟ้านับว่าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่จะต้องทำการตรวจเช็คและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องโดยปกติทั่วไปควรตรวจเช็คทุกๆ 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของหม้อแปลงไฟฟ้า

หัวข้อรายการควรตรวจเช็ค

1.ตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า (Main TanK)
  • ตรวจรอยรั่วของน้ำมัน คราบน้ำมัน
  • ตรวจความสกปรก ฝุ่นที่เกาะตามตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ตรวจดูว่ามีการเกิดของสนิม หรือการกัดกรอนของตัวถังหม้อแปลงไฟฟ้าหรือไม่
2.การรั่วซึมรอบนอกของหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ตรวจดูปะเก็น
  • ซีลยางต่างๆ
  • ตรวจดูวาวล์ถ่ายน้ำมัน (Drain Valve)
3.ชุดกรองความชื้น (Dehydrating Breather)
  • ตรวจสอบการเปลี่ยนสีของซิลิก้าเกล (Silica gel)
    • จากสีน้ำเงินเข้มเป็นสีชมพูไป3/4ของกระบอกกรองความชื้น
      • (ควรแก้ไข) ตรวจสอบระดับน้ำมันในถ้วยใต้กระบอกกรองความชื้นว่ามีอยู่ในระดับที่มาตรฐาน
      • ตรวจสอบซีลยางและน๊อตสกูรต้องไม่มีคราบน้ำมันซึมและซีลยางไม่แตกระแหง มีผิวเรียบ
      • ต้องดึงแผ่นอลูมิเนียมออกก่อนติดตั้งและจ่ายไฟ
4.การตรวจวัดค่า (Insulation Resistance) 2000 MegaOhm – 5000 MegaOhm (20 C)
  • V. – L.V. ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
  • V. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
  • V. – Ground ต้องไม่ต่ำกว่า 1000 MegaOhm
5.บุชชิ่งแรงสูง แรงต่ำ(Bushing)
  • ตรวจสภาพผิว (คราบน้ำมัน รอยอาคท์(Arc)  ครีบบิ่นแตก
  • ตรวจความสะอาดของบุชชิ่ง
  • ตรวจดูรอยรั่วซึมของคราบน้ำมัน สภาพซีลยาง (Seal)
  • ตรวจ Bolt & Nut ของบุชชิ่งแรงสูง-แรงต่ำ

6.ขั้วต่อสายไฟเข้า-ออก ต้านแรงสูงและแรงต่ำ(Terminal Connector H.V.,L.V.)
  • ตรวจดูรอยอาคท์(Arc)หรือOverheat
  • ตรวจBolt & NutของTerminal Connector ให้แน่น
  • ตรวจสอบความสะอาดและทาCompoundเพื่อช่วยเคลือบคลุมรอยสัมผัสไว้เป็นการกันความชื้นและออกซิเจนในอากาศ

7.ชุดปรับแรงดันไฟฟ้า( Off Load Tap Changer)
  • ตรวจสภาพของHandleและTap Changerตรงล็อกหรือไม่
  • ตรวจสอบรอยรั่วซึมของน้ำมันและซีลยาง(Seal)
  • ตรวจสอบการอาคท์(Arc)หรือเชื่อมติดของTap Changer โดยการหมุนไป
  • มา4-5ครั้ง

8.ที่วัดระดับน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า(ถ้ามี)
  • สังเกตการขยับตัวของเข็มวัดระดับ(ถ้ามี)
  • ตรวจดูระดับน้ำมันอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน(20 Celsius)หรือไม่
  • ตรวจขันน็อต สกูรให้แน่น
  • ตรวจสอบรอยรั่วซึมน้ำมันและซีลยาง(Seal)
  • ตรวจสอบกระจก/พลาสติกว่าแตกชํารุดหรือไม
9.เทอร์โมมิเตอร์(ถ้ามี)
  • ตรวจสอบกระจก/พลาสติกหน้าปัดแตกชำรุดหรือไม่
  • ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน
  • ตรวจสอบค่าที่วัดอุณหภูมิ Top oil เกินค่าที่กำหนดหรือไม่(ไม่เกิน60 Celsius)
  • ตรวจสอบการทำงานของอุณหภูมิถูกต้องหรือไม่
10.อุปกรณ์ความดัน(Pressure Relief Device) (ถ้ามี)
  • ตรวจสอบรอยรั่วซึมคราบน้ำมัน
11.บุชโฮรีเลย์(Buchholz Relay) (ถ้ามี)
  • ตรวจสอบกระจก/หน้าปัดแตกชำรุดหรือไม่
  • ตรวจสอบมีGasสะสมมากผิดปกติหรือไม่
  • ทดสอบการทำงาน
12.น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้า
  • ทดสอบค่า Breakdown Voltage ตามมาตรฐาน ASTM หรือ IEC
  • ตรวจสอบสีของน้ำมัน
  • ตรวจสอบค่าความเป็นกรด ความหนืด
  • ตรวจสอบสิ่งเจือปนในน้ำมัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การคำนวณหาเบอร์ขดลวดที่จะพันหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดเล็ก

ขั้นตอนการทำหม้อแปลง

เทคนิคและการออกแบบ Switching Power Supply